วันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

สื่อสิ่งพิมพ์ !!!

ความหมายของสื่อสิ่งพิมพ์ 

                การพิจารณาถึงความหมายของคำว่า “สื่อสิ่งพิมพ์” นั้นจะมุ่งเน้นพิจารณาว่าสื่อสิ่งพิมพ์ชิ้นนั้นๆ ประกอบด้วยอะไรบ้างเป็นหลักเกณฑ์ ซึ่งโดยหลักการแล้วเหมือนกัน นอกจากการแบ่งแยกประเด็นปลีกย่อยอาจมีความแตกต่างกันบ้าง เช่น แบบหนึ่งอาจพิจารณาว่าสื่อสิ่งพิมพ์ประกอบด้วยหนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร หนังสือ แผ่นพับ โปสเตอร์โฆษณา หรืออีกแบบหนึ่งอาจพิจารณาว่า สื่อสิ่งพิมพ์ประกอบด้วยหนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร หนังสือเล่มและสิ่งพิมพ์เฉพาะกิจซึ่งประกอบด้วยโปสเตอร์ แผ่นพับ ใบปลิว จดหมายข่าว หนังสือเล่มเล็กและคู่มือ เป็นต้น
จากการที่แบ่งประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์เช่นนี้ แสดงให้เห็นว่า สื่อสิ่งพิมพ์นั้นจะต้องใช้
กระดาษเป็นวัสดุในการตีพิมพ์นั้นเองแต่อย่างไรก็ตาม สื่อสิ่งพิมพ์ที่ใช้หรือไม่ใช้กระดาษเพียง
อย่างเดียวล้วนมีความสำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิตประจำวันและสังคมมนุษย์ทั้งสิ้น
    
    เป็นการนำความรู้ หรือ ข่าวสารต่างๆที่จะสื่อให้ผู้อื่นเข้าใจจัดเก็บอยู่ในรูปแบบของตัวอีกษร เป็นภาษาที่แตกต่ากันออกไป และ ปัจจุบันใช้กระดาษในการบันทึกตัวอักษร สามารถพกพาได้สดวกง่ายต่อการจัดทำ  รวมตลอดทั้งบทเพลง แผนที่ แผนผัง แผนภาพ ภาพวาด ภาพระบายสี  ใบประกาศ แผ่นเสียง หรือสิ่งอื่นใดอันมีลักษณะเช่นเดียวกัน”

    ข้อเด่นของสื่อสิ่งพิมพ์
        การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างกว้างขวางสามารถเลือกกลุ่มเป้าหมายได้ ค่าใช้จ่ายถูกกว่าสื่อชนิดอื่น และ เป็นสื่อที่มีความน่าเชื่อถือจากคนทั่วไป สามารถเก็บรักษาได้นานพอสมควร เป็นต้น
    ข้อด้อยของสื่อสิ่งพิมพ์
       มีข้อจำกัดในด้านเวลาในการนำเสนข้อมูล คือ อาจจะเป็นข้อมูลเก่าไปแล้วในอีกไม่กี่ชั่วโมง และการดึงดูดความสนใจแก่ผู้พบเห็นมีน้อย ถ้าผู้ออกแบบไม่ออกแบบให้เด่น เป็นต้น
    หลักการใช้สื่อสิ่งพิมพ์
        ส่วนมากจะนำไปใช้ในการโฆษณาต่างๆ หรือให้ข้อมูลข่าวสารวันต่อวัน เช่น หนังสื่อพิมพ์ นิตยสาร แผ่นพับ ใบปลิว แต่ ยังมีสื่อสิ่งพิมพ์อีกชนิดหนึ่งที่แต่ต่างออกไป คือ หนังสื่อเป็นการนำข้อมูลทางวิชาการและบัณทึกความรู้ต่างๆเก็บไว้เพื่อให้คนยุคต่อๆไปได้มาค้นคว้าหาความรู้ได้ในอนาคต เป็นต้น
     ธรรมชาติของสื่อ
           สื่อสิ่งพิมพ์ คือ  สิ่งที่พิมพ์ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแผ่นกระดาษหรือวัตถุใด ๆ ด้วยวิธีการต่าง ๆ อันเกิดเป็นชิ้นงานที่มีลักษณะเหมือน ต้นฉบับขึ้นหลายสำเนาในปริมาณมากเพื่อเป็นสิ่งที่ทำการติดต่อ หรือชักนำให้บุคคลอื่นได้เห็นหรือทราบ ข้อความต่าง ๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น