วันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

งานวิจัยสื่อ

















สื่อประเภทเสียง !!!

สื่อประเภทเสียง 
 
    เสียงเกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ ซึ่งการสั่นสะเทือนทำให้ตัวกลาง เกิดการสั่นแล้วถ่ายโอนพลังงานให้แก่อนุภาคของตัวกลางถัดไปโดยที่อนุภาคของตัวกลาง มีการสั่นกลับไปกลับมา ทำให้เกิดคลื่นเสียงขึ้น วัตถุที่มีมวลมากจะสั่นช้ากว่าวัตถุที่มีมวลน้อยทำให้ความถี่ของเสียงต่ำกว่าวัตถุที่มีมวลน้อยกว่า     ข้อเด่นของเสียง
        เสียงเกิดได้กับทุกๆวัตถุที่มีมวล โดยการสั่นสะเทือนของวัตถุและถ่ายโอนพลังงานให้แก่อนุภาค
 
    ข้อด่อยของเสียง
        เสียงเดินทางโดยกระจายเป็นวงกลม และมีขอจำกัดในการเดินทาง ข้อจำกัดนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุที่เสียงเดินทาง ว่ามีมวลน้อยหรือมากและช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับวัตถุนั้นๆ
 
    หลักการใช้สื่อเสียง
        โดยส่วนมากเสียงที่ใช้จะเป็นการสื่อสารระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต ให้รู้ถึงความหมายที่จะสื่อถึงกัน แต่มนุษย์ได้พัฒนาสื่อเสียงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดนการใช้อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิคต่างๆมาช่วยในการกระจายเสียให้ได้ยินไกลขึ้น หรือได้ยินในหมูคนจำนวนมาก และยังนำไปใช้อีหหลายๆด้าน เช่น การวัดความลึกของน้ำ โดยหลักการสะท้อนของเสียงและคำนวณออกมาเป็นระยะได้ เป็นต้น

สื่อประเภทกิจกรรม !!!

สื่อประเภทกิจกรรม
 
    กระบวนการเรียนการสอนที่ผู้เรียนมีส่วนร่วม ในการลงมือกระทำสื่อการสอนมีความหมายก้วางขวาง ครอบคลุมทั้ง วัสดุ อุปกรณ์และวิธีการต่าง ๆ ที่นำมาใช้เพื่อถ่ายทอดความรู้และ ประสบการณ์ให้กับผู้เรียน กิจกรรมหรือวิธีการนับเป็นสื่อการสอนที่มี ศักยภาพส้งต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ทำให้บทเรียนดำเนินไปอย่าง สนุกสนาน น่าสนใจ ผู้เรียนทุกคนมีโอกาสร่วมในกิจกรรมตลอดเวลา การใช้วิธีการหรือกิจกรรมเพื่อการเรียนการสอนอาจต้องใช้วัสดุ อุปกรณ์ เขูามาช่วย เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้ไดูดียิ่งขึ้น
 
 
    ข้อเด่นของสื่อกิจกรรม
 
        1. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการกำาหนดวัตถุประสงค์การทำากิจกรรม และประเมินผลกิจกรรม
        2. ผู้เรียนไดูฝึกฝนพฤติกรรมการเรียนทั้งทางด้านความรู้ เจตคติ และทักษะผสมผสานกันเป็นบรรณาการอย่างเป็นระบบ
        3. มีลักษณะของการกระทำาเด่นชัดด้วยการกำหนดคำที่แสดงถึงการกระทำไว้ด้วยทุกครั้ง
        4. กำหนดเงื่อนไขสำหรับประกอบกิจกรรมไว้ชัดเจน สามารถ วัดผล และสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนได้
        5. มีเกณฑ์หรือมาตรฐานในการดำเนินกิจกรรม กำหนด พฤติกรรมที่ถือเป็นระดับตำ่สุดที่พึงพอใจ
        6. ใช้เวลาพอเหมาะที่ผู้เรียนจะสามารถดำเนินกิจกรรมให้ ประสบผลสำเร็จ และก่อให้เกิดความภาคภ้มิใจได้
        7. มีการชี้แนวทางหรือนำทางในการดำเนินกิจกรรมได้เด่นชัด
        8. กิจกรมมต้องตรงกับเนื้อหาที่กำหมดไว้
        9. กิจกรรมไม่ควรมีความยุ่งยากซับซ้อน และความยากง่ายเหมาะสมกับผู้เรียน
        10. เป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
           
 
     ข้อด้อยของสื่อกิจกรรม 
 
        1. ใช้พื้นที่ในการจัดกิจกรรมมาก
        2. ใช้ทรัพยากรในการจัดกิจกรรมมาก
        3. ใช้เวลาในการจัดกิจกรรมมาก
        4. ใช้ผู้จัดกิจกรรมจำนวนมาก
 

สื่อประเภทคอมพิวเตอร์ออนไลน์ !!!

สื่อประเภทคอมพิวเตอร์ ออนไลน์ online

ธรรมชาติของสื่อออนไลน์  online
           ต่อมาเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องถูกนำมาเชื่อมโยง โดยใช้สายนำสัญญาณและใช้ซอฟแวร์จัดการให้ข้อมูลในเครื่องหนึ่งไปแสดงผลบนเครื่องอื่นได้ สื่อมัลติมีเดียก็ได้พัฒนาขึ้นตามลำดับ และถูกนำไปใช้ในประโยชน์ใน ระบบเครือข่ายเล็กๆ (LAN) นั่นคือเริ่มใช้เป็นสื่อแบบออนไลน์ (online) อาศัยสายสัญญาณที่เชื่อมโยงติดต่อกันนั้นนำข้อมูลมัลติมีเดียจาก เครื่องแม่ข่าย (server) กระจายไปแสดงผลที่ทุกเครื่องที่เป็น ลูกข่าย (clients) ใน เครือข่าย (network)

ข้อเด่นของสื่อออนไลน์
            สามารถถ่ายทอดและเผยแพร่สื่อโดยไร้พรมแดน
            สามารถปรับปรุงข้อมูลได้ตลอด 
            ประหยัดเวลาในการศึกษาสื่อ
 
 
ข้อด้อยของสื่อ online
            การป้องกันข้อมูลจากการระเมิดสิทธิเป็นไปได้ยาก 
           เป็นสื่อที่มีความน่าเชื่อถือต่ำบางสื่อไม่สามารถใช้ศึกษาเชิงวิชาการได้
 
 
หลักการใช้สื่อออนไลน์(Online)
           การใช้สื่อออนไลน์มีผลกระทบต่อทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ขึ้นอยู่กับว่าจะมีผลกระทบในด้านใดถ้าเราใช้ไปในทางที่ดีผลกระทบมันก็จะเกิดประโยชน์ เกิดผลดีกับตัวเรา  แต่หากเราใช้ไปในทางที่ผิดผลกระทบที่ไม่ดีมันก็จะเกิดขึ้นกับตัวเราอีกเช่นกันซึ่งทุกคนคงไม่อยากให้เกิดขึ้นกับตัวเองเพราะฉะนั้นเราควรใช้สื่อออนไลน์ตามความจำเป็น และใช้ในทางที่ถูกต้องเพื่อประโยชน์ที่จะได้รับและตัวของคุณเอง
               คนอ่านไม่ชอบอ่านอะไรยาวๆ หรือต้องใช้เวลากับสิ่งหนึ่งนานๆ ดังนั้น เมื่อเข้ามาเพื่ออ่านข้อความสักหนึ่งข้อความ ผู้อ่านต้องการทราบโดยรวดเร็วว่า บทความหรือเนื้อหาที่นำเสนอเกี่ยวกับอะไร มีเรื่องอะไรที่เขาจะอ่านในบทความได้บ้าง โดยลักษณะการอ่านก็คือ การกวาดสายตา

สื่อประเภทคอมพิวเตอร์ออฟไลน์ !!!

สื่อประเภทคอมพิวเตอร์ ออฟไลน์ offline


ธรรมชาติของสื่อ
สื่อออฟไลน์  offline
           สื่อมัลติมีเดียได้พัฒนาขึ้นก่อนในแบบ ออฟไลน์(offline) คือแบบไม่ใช้สายหรือไม่มีการติดต่อกันทางสาย ซึ่งหมายถึง การนำแผ่นดิสก์หรือแผ่นซีดีรอมที่บันทึกข้อมูล มาเล่นบนเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งโดดๆเพียงลำดับเครื่องเดียว (เรียกกันว่าแบบแสตนด์อะโลน(stand alone) แผ่นซีดีรอมใช้อยู่ที่คอมพิวเตอร์เครื่องใด ภาพและเสียงก็จะแสดงผลอยู่ที่เฉพาะเครื่องนั้น

ข้อเด่นของสื่อ offline
             สามารถใช้ได้ทุกที่ๆมีคอมพิวเตอร์ ไม่จำเป็นต้องต่อกับระบบ network เพราะภายในตัวสื่อนี้มีความพร้อมอยู่แล้ว

ข้อด้อยของสื่อ offline            
ไม่สามารถแก้ไข้ข้อมูลได้ตลอดเวลา

หลักการใช้สื่อออฟไลน์
            เป็นสื่อที่มีข้อมูลข่อนข้างเก่าง่าย และ ยากต่อการปรับปรุงสื่อ offline ที่เป็นที่นิยมกันมากคือ การโฆษณาผ่านหนังสือพิมพ์ แต่สื่อเหล่านี้ ต้องใช้เงินลงทุนค่อนข้างมาก ดังนั้น อาจจะทำในสื่อ offline แบบอื่นๆ เช่น ที่คั่นหนังสือ ทำสติกเกอร์ติดรถ หรือ ใส่เสื้อที่มีชื่อเว็บไซต์ของเราเอง เพราะให้หลายๆ คนมองเห็น

สื่อประเภทฉาย !!!

สื่อประเภทของเครื่องฉาย
     เครื่องฉายมีอยู่หลายประเภทการแบ่งประเภทมีการแบ่งอยู่หลายลักษณะเช่น
1. แบ่งตามระบบการฉาย
        1.1.  ระบบการฉายตรง (Direct Projection)
        เป็นระบบที่แสงจากหลอดฉายส่องตรงผ่าน เลนซ์รวมแสง ผ่านวัสดุฉาย ผ่านเลนซ์ฉาย ออกสู่จอ เช่น ระบบของเครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายสไลด์และฟิล์มสตริฟ

        1.2. ระบบฉายอ้อม (Indirect Projection) หรือเรียกว่า ระบบแสงส่องสะท้อนผ่านวัสดุฉาย
        แสงผ่านวัสดุฉายและส่วนประกอบอื่น ออกไปสู่จอในลักษณะที่แสงไม่ได้ส่องตรงไปที่เดียว แต่จะมีการสะท้อนเปลี่ยนทิศทาง เช่น ระบบการฉายในเครื่องฉายแผ่นโปร่งใส

      1.3. ระบบแสงส่องสะท้อน(Reflect Projection) หรือแสงส่องสะท้อนที่ไม่ผ่านวัสดุฉาย
        ระบบนี้ แสงจากหลอดฉาย ตกกระทบวัสดุฉาย แล้วสะท้อนผ่านส่วนประกอบอื่น ออกไปสู่จอโดยแสงไม่ผ่านวัสดุฉาย ทั้งนี้เพราะวัสดุที่จะใช้ฉายกับเครื่องประเภทนี้มีความทึบแสง

2.  แบ่งตามลักษณะภาพที่ปรากฏบนจอ
                   2.1  เครื่องฉายภาพนิ่ง  จะให้ภาพนิ่งปรากฏบนจอ  ได้แก่  เครื่องฉายสไลด์  เครื่องฉายฟิล์มสตริป  เครื่องฉายภาพทึบแสง  และเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ  (เครื่องฉายภาพโปร่งใส)  เป็นต้น 
                   2.2  เครื่องฉายภาพเคลื่อนไหว  ภาพที่ปรากฏบนจอจะทำให้ผู้ชมมีความรู้สึกว่าเคลื่อนไหวเหมือนภาพที่เป็นจริง  ได้แก่  เครื่องฉายภาพยนตร์  เครื่องฉายฟิล์มลู๊ป  เครื่องฉายภาพดิจิตอล
3.  แบ่งตามลักษณะของวัสดุฉาย
                   3.1  เครื่องฉายภาพโปร่งใส  (Transparency Projector)  ซึ่งวัสดุฉายจะเป็นวัสดุโปร่งใสหรือโปร่งแสง  (Transparency Materials)  เช่น  เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ  เครื่องฉายสไลด์  เครื่องฉายฟิล์มสตริป  เครื่องฉายภาพยนตร์  และเครื่องฉายไมโครฟิล์ม  เป็นต้น
                   3.2  เครื่องฉายภาพทึบแสง  (Opaque Projector)  เป็นเครื่องฉายที่ฉายวัสดุทึบแสงซึ่งแสงจะไม่สามารถผ่านวัสดุฉายได้  แต่จะใช้หลักการสะท้อนของภาพแทน
                   3.3. เครื่องฉายภาพดิจิตอล(Digital Projector) เป็นเครื่องฉายที่ใช้วัสดุจัดเก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเหมือนกับวัดสุฉายที่เป็นลักษณะโปร่งแสงหรือทึบแสง
             เครื่องฉายภาพดิจตอลของ BenQ

4.  แบ่งตามลักษณะการใช้งาน  ซึ่งแต่ละประเภทจะใช้งานในลักษณะต่าง ๆ  เช่น
                   4.1  เครื่องฉายสไลด์ 
                   4.2  เครื่องฉายฟิล์มสตริป 
                   4.3  เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ 
                   4.4  เครื่องฉายภาพทึบแสง
5.  แบ่งตามลักษณะเทคโนโลยีการผลิตเครื่องฉาย
                   5.1  เครื่องฉายที่ใช้เทคโนโลยีแบบพื้นฐาน กล่าวคือ เป็นเครื่องฉายใช้อุปกรณ์กลไกที่ไม่ซับซ้อน เป็นเครื่องฉายที่ใช้เทคโนโลยีง่ายๆ และใช้กลไกเป็นหลักในการทำงานของเครื่องฉาย  เช่น
                         5.1.1  เครื่องฉายสไลด์ 
                         5.1.2  เครื่องฉายฟิล์มสตริป 
                         5.1.3  เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ 
                         5.1.4  เครื่องฉายภาพทึบแสง 
                   5.2  เครื่องฉายที่ใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อนหรือเครื่องฉายประเภทที่ใช้อุปกรณ์เล็กทรอนิกส์ เช่นเครื่องฉายภาพดิจิตอล ซึ่งเครื่องฉายดิจิตอลโดยมีการพัฒนามานานพอสมควร  โดยเริ่มจากเครื่องวีดิโอโปรเจ็คเตอร์ที่ใช้หลอดฉายประเภท CRT แล้วพัฒนามาเป็นยุค  LCD ซึ่งในระยะแรก ๆ ยังมีคุณภาพที่ด้อยกว่าชนิดที่ใช้หลอดภาพ CRT  จากนั้นได้มีความพยายามในการพัฒนาในหลาย ๆ เทคโนโลยี เช่น  DLP, D-ILA และ LCOS เป็นต้น อย่างไรก็ตามเครื่องฉายได้รับการพัฒนามาจนถึงปัจจุบันที่สามารถเรียกกันได้ว่าเป็นเครื่องฉายภาพดิจิตอล  เนื่องจากให้คุณภาพของภาพที่คมชัดกว่าเครื่องฉายที่ใช้สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์แอนนาลอกทำให้คุณลักษณะของเครื่องฉายประเภทนี้มุ่งการพัฒนาไปสู่ดิจิตอลมากขึ้น  จนแทบจะกล่าวได้ว่า  เครื่องฉายประเภทที่ใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อนหรือเครื่องฉายประเภทที่ใช้อุปกรณ์เล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องฉายที่ใช้ดิจิตอลหมดแล้ว 
ข้อเด่นของสื่อประเภทฉาย
                  1. การควบคุมแสงสว่าง  จะต้องควบคุมแสงสว่างได้อย่างต่อเนื่อง เช่นจากสว่างไปค่อย ๆ มืด หรือจากมืดไปค่อย ๆ สว่าง
                 
2. ระบบเสียงต้องชัดเจนทั่วทั้งห้องฉาย
           
 
           3. ระบบระบายอากาศ  ต้องระบายอากาศได้ดี เป็นสื่อที่ช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในเนื้อหาการเรียนของผู้สอน

           4. ความชัดเจนของภาพ ทุกจุด ไม่เกิดภาพผิดเพี้ยนหรือ keystone or distortion   

ข้อด้อยของสื่อประเภทฉาย
                 1.สามารถขยายภาพถ่าย ภาพเขียน ข้อความ หรือวัสดุทึบแสงให้มีขนาดใหญ่ได้
                 2.เหมาะสำหรับผู้เรียนกลุ่มใหญ่
                3. ช่วยลดภาระในการผลิตแผ่นภาพโปร่งใส สไลด์ หรือภาพกราฟิก
ธรรมชาติของสื่อประเภทฉาย
                 1.  ทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในเนื้อหาของผู้สอน
             2.  เรียนรู้ง่าย

สื่อสิ่งพิมพ์ !!!

ความหมายของสื่อสิ่งพิมพ์ 

                การพิจารณาถึงความหมายของคำว่า “สื่อสิ่งพิมพ์” นั้นจะมุ่งเน้นพิจารณาว่าสื่อสิ่งพิมพ์ชิ้นนั้นๆ ประกอบด้วยอะไรบ้างเป็นหลักเกณฑ์ ซึ่งโดยหลักการแล้วเหมือนกัน นอกจากการแบ่งแยกประเด็นปลีกย่อยอาจมีความแตกต่างกันบ้าง เช่น แบบหนึ่งอาจพิจารณาว่าสื่อสิ่งพิมพ์ประกอบด้วยหนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร หนังสือ แผ่นพับ โปสเตอร์โฆษณา หรืออีกแบบหนึ่งอาจพิจารณาว่า สื่อสิ่งพิมพ์ประกอบด้วยหนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร หนังสือเล่มและสิ่งพิมพ์เฉพาะกิจซึ่งประกอบด้วยโปสเตอร์ แผ่นพับ ใบปลิว จดหมายข่าว หนังสือเล่มเล็กและคู่มือ เป็นต้น
จากการที่แบ่งประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์เช่นนี้ แสดงให้เห็นว่า สื่อสิ่งพิมพ์นั้นจะต้องใช้
กระดาษเป็นวัสดุในการตีพิมพ์นั้นเองแต่อย่างไรก็ตาม สื่อสิ่งพิมพ์ที่ใช้หรือไม่ใช้กระดาษเพียง
อย่างเดียวล้วนมีความสำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิตประจำวันและสังคมมนุษย์ทั้งสิ้น
    
    เป็นการนำความรู้ หรือ ข่าวสารต่างๆที่จะสื่อให้ผู้อื่นเข้าใจจัดเก็บอยู่ในรูปแบบของตัวอีกษร เป็นภาษาที่แตกต่ากันออกไป และ ปัจจุบันใช้กระดาษในการบันทึกตัวอักษร สามารถพกพาได้สดวกง่ายต่อการจัดทำ  รวมตลอดทั้งบทเพลง แผนที่ แผนผัง แผนภาพ ภาพวาด ภาพระบายสี  ใบประกาศ แผ่นเสียง หรือสิ่งอื่นใดอันมีลักษณะเช่นเดียวกัน”

    ข้อเด่นของสื่อสิ่งพิมพ์
        การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างกว้างขวางสามารถเลือกกลุ่มเป้าหมายได้ ค่าใช้จ่ายถูกกว่าสื่อชนิดอื่น และ เป็นสื่อที่มีความน่าเชื่อถือจากคนทั่วไป สามารถเก็บรักษาได้นานพอสมควร เป็นต้น
    ข้อด้อยของสื่อสิ่งพิมพ์
       มีข้อจำกัดในด้านเวลาในการนำเสนข้อมูล คือ อาจจะเป็นข้อมูลเก่าไปแล้วในอีกไม่กี่ชั่วโมง และการดึงดูดความสนใจแก่ผู้พบเห็นมีน้อย ถ้าผู้ออกแบบไม่ออกแบบให้เด่น เป็นต้น
    หลักการใช้สื่อสิ่งพิมพ์
        ส่วนมากจะนำไปใช้ในการโฆษณาต่างๆ หรือให้ข้อมูลข่าวสารวันต่อวัน เช่น หนังสื่อพิมพ์ นิตยสาร แผ่นพับ ใบปลิว แต่ ยังมีสื่อสิ่งพิมพ์อีกชนิดหนึ่งที่แต่ต่างออกไป คือ หนังสื่อเป็นการนำข้อมูลทางวิชาการและบัณทึกความรู้ต่างๆเก็บไว้เพื่อให้คนยุคต่อๆไปได้มาค้นคว้าหาความรู้ได้ในอนาคต เป็นต้น
     ธรรมชาติของสื่อ
           สื่อสิ่งพิมพ์ คือ  สิ่งที่พิมพ์ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแผ่นกระดาษหรือวัตถุใด ๆ ด้วยวิธีการต่าง ๆ อันเกิดเป็นชิ้นงานที่มีลักษณะเหมือน ต้นฉบับขึ้นหลายสำเนาในปริมาณมากเพื่อเป็นสิ่งที่ทำการติดต่อ หรือชักนำให้บุคคลอื่นได้เห็นหรือทราบ ข้อความต่าง ๆ